:: การใช้งาน Action Script เบื้องต้น

Action Script (แอคชั่นสคริปต์) คือชุดคำสั่งหรือภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมหรือสั่งการในโปรแกรม Flash ทำให้งานที่เราสร้างขึ้น มีลักษณะการเคลื่อนไหวเป็นไปตามที่เราต้องการ ซึ่งเหมือนกับการเขียนโปรแกรมในคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบันการเขียนคำสั่ง Action Script มีอยู่ 2 เวอร์ชั่นดังนี้

Action Script 2.0
เป็นการเขียนโปรแกรมคำสั่งควบคุมชิ้นงาน ในโปรแกรม Flash ยุคแรก ซึ่งมีรูปแบบการเขียนที่ไม่ซับซ้อนเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้งานคำสั่งง่ายๆ ไม่ซับซ้อน
หมายเหตุ: ปัจจุบัน Action Script 2.0 หยุดพัฒนาไปตั้งแต่ Adobe Flash CS6 ซึ่งเป็นรุ่นสุดท้าย สำหรับ Adobe Flash CC เป็นต้นไปจะรองรับแค่ Action Script 3.0
ข้อดี เป็นการเขียนคำสั่งควบคุมที่ง่าย เหมาะสำหรับผู้เริ่มการเขียนโปแกรม หรือผู้ที่ไม่ถนัดการเขียนโปรแกรม การกำหนดคำสั่งต่างๆเป็นไปได้ง่าย ไม่ซับซ้อน เช่น ต้องการกำหนดให้ตัวแปร a เท่ากับ 5 ก็พิมพ์ a = 5; เป็นต้น
เหมาะกับงาน เกมทั่วไป หรือ CAI ทั่วไป ที่ระบบไม่ซับซ้อน
ข้อเสีย ระบบยังไม่รองรับเรื่องการ เซฟรูป หรือวัตถุต่างๆ ไม่สามารถจัดการงานที่ซับซ้อน และมีความหลากหลาย การสร้างเงื่อนไขที่มีความละเอียดและซับซ้อนทำได้ยากกว่า

Action Script 3.0
เป็นการเขียนโปรแกรมคำสั่งควบคุม ที่มีรูปแบบการเขียนตรงตามหลักการเขียนโปรแกรมที่ถูกต้อง จึงเหมาะและถนัดกับนักเขียนโปรแกรม ทำให้การใช้งานมีฟังก์ชั่นที่หลากหลายและซับซ้อนกว่าการเขียนในรูปแบบเดิม รองรับการทำงานกับวัตถุต่างๆได้ดี ทั้งภายในและภายนอกโปรแกรม
ข้อดี สามารถทำงานได้หลากหลายกว่าการเขียนแบบ Action Script 2.0 สนับสนุนการทำงานแบบ OOP(Object Oriented Programming) ซึ่งจะทำงานเร็วขึ้น และเชื่อมโยงวัตถุภายในและภายนอกได้ดี
ข้อเสีย มีความซับซ้อนมาก ไม่เหมาะสำหรับคนเพิ่งเคยเขียนโปรแกรม เพราะผิดพลาด(error)ได้ง่ายกว่าการเขียนแบบเดิม หากมีการใช้งานหรืออ้างอิงคำสั่งไม่ถูกต้องก็จะทำให้ชิ้นงานผิดพลาดได้ทันที





การใส่ Action Script ในโปรแกรม Adobe Flash สามารถใส่ได้ 2 ตำแหน่งดังนี้

Action Script บน Timeline
ทำได้โดยการคลิกที่คีย์เฟรมที่ต้องการใส่ ActionScript แล้วเปิดหน้าต่าง Action โดยไปที่เมนู window > action หรือกดปุ่ม F9 เลือกใส่ ActionScript ที่คีย์เฟรมนั้นได้เลย
หมายเหตุ: คีย์เฟรมที่ใส่ 
ActionScript แล้วจะมีสัญลักษณ์ตัว ปรากฏอยู่ในคีย์เฟรมนั้นด้วย




คำสั่งกลุ่ม Timeline
stop หยุดเล่น
play เล่นต่อ
gotoAndStop ไปยังเฟรมที่ต้องการแล้วหยุดเล่น
gotoAndPlay ไปยังเฟรมที่ต้องการแล้วเล่นต่อ
nextFrame ไปยังเฟรมถัดไป
prevFrame ไปยังเฟรมก่อนหน้า
nextScene ไปยังซีนถัดไป
prevFrame ไปยังซีนก่อนหน้า


Action Script บน Symbol
ทำได้โดยการคลิกที่ซิมโบลที่ต้องการ ซึ่งโดยส่วนมากจะเป็นรูปแบบปุ่ม(Button) เปิดหน้าต่าง Action โดยไปที่เมนู window > action หรือกดปุ่ม F9 การใส่ ActionScript ที่ซิมโบลปุ่มจะแสดงผลก็ต่อเมื่อเราได้คลิกเมาส์ที่ปุ่มนั้น เช่น คลิกเพื่อให้หยุดเล่น หรือคลิกเพื่อให้กระโดดไปเล่นหน้าอื่น




คำสั่งกลุ่ม Symbol
on เป็นคำสั่งเริ่มต้น ที่จะใช้เพื่อควบคุมวัตถุรูปแบบปุ่ม (Button)
press ใช้สำหรับกำหนดคำสั่งเมื่อคลิกเมาส์บนวัตถุ
release ใช้สำหรับกำหนดคำสั่งเมื่อปล่อยเมาส์
rollOver ใช้สำหรับกำหนดคำสั่งเมื่อเคลื่อนเมาส์ไปเหนือวัตถุ
rollOut ใช้สำหรับกำหนดคำสั่งเมื่อเคลื่อนเมาส์ออกจากวัตถุ













นักเรียนสามารถฝึกฝนทักษะการใช้งาน Action Script 2.0
จากลิงค์ Workshop ปริศนาคำทาย ด้านล่างได้ครับ







จัดทำโดย :: คุณครูอินทนินท์ กำปั่นทอง
โรงเรียนพร้าววิทยาคม ต.เขื่อนผาก อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
จัดทำโดย :: คุณครูอินทนินท์ กำปั่นทอง — โรงเรียนพร้าววิทยาคม ต.เขื่อนผาก อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
Design By :: Inthanin Kampanthong — Phraowittayakom School